วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โคลงเคลง

ชื่อพื้นเมือง       กะดูดุ กาดูโต๊ะ โคลงเคลงขึ้นก โคลงเคลงขี้หมา ชี้ชะโพะ ตะอาเต๊าะ   เบร์มะเหรมังเคร่ มังแร้ สาเร สำเร มายะอ้า อ้าหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Melastoma malabathricum L.subsp. malabathricum
ชื่อวงศ์             MELASTOMATACEAE
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
          ในประเทศ  ตามชายป่าหรือที่โล่งแจ้ง ริมน้ำในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ทุกภาคในต่างประเทศ  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป
          ต้นไม้  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นแตกเป็นกอ ยอดอ่อน กิ่งก้านเป้นสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียด สีน้ำตาลอ่อนปกคลุมทุกส่วน แตกกิ่งกิ้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกนอกลำต้นบางเรียบ สีน้ำตาลแดง เปลือกในสีขาว   ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกน รูปใบหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบเรียวสอบ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. แผ่นใบค่อนข้างแข็ง ผิวใบมีเกล็ดเล็กแหลม เส้นใบ 3 เส้น ออกจากโคนใบไปสิ้นสุดที่ปลายใบ ใบมีสีเขียวเข้ม   ดอก  ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง 3-5 ดอก สีม่วงอมชมพู ดอกบางเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-5.5 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเป็นเส้น ๆ  ผล  รูปทรงเรียวคล้ายลูกข่าง ผิวมีขน เนื้อในแดงอมม่วง เมล็ดมีจำนวนมาก  ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล  ตลอดปี     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด ตอน
การใช้ประโยชน์  ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้พุ่มที่ปลูกเพื่อการตบแต่งสวนหย่อมได้ มีใบที่เขียวสวย โดยเฉพาะดอกสีม่วงสดใสมาก มีขนาดกว้าง 5 ซม. และต้นแตกกอเพิ่มปริมาณต้นมากขึ้น ๆ และออกดอกตลอดปี ปลูกครั้งเดียวมีอายุให้ดอกได้นานหลายปี
ด้านสมุนไพร   ราก  ใช้เป็นยาดับพิษไข้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงตับไตและดี  ดอก  เป็นยาระงับประสาท และห้ามเลือด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น