วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ปรัชญาปฏิบัตินิยม

ปรัชญาปฏิบัตินิยม
                ปรัชญาปฏิบัตินิยม  (Pragmatism)  เป็นความคิดที่แร่หลายทั่วไปในวงการปรัชญาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษ  ที่  19  เป็นต้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา  แม้จะถือว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมเป็นปรัชญาสมัยปัจจุบัน  แนวความคิดของนักปรัชญา มีอยู่  3 คนด้วยกันคือ
1.   ชาร์ล  แซนเดอรส์  เพิร์ซ ได้กล่าวถึงเรื่อง  ทฤษฎีความจริงที่ว่าทฤษฎีใดก็ตามจะถือว่าเป็นความจริงได้  ก็ต่อเมื่อมันทำงานได้ผลในทางปฏิบัติหรือให้ผลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และทฤษฎีความสงสัยและความเชื่อ ความสงสัยแตกต่างกับความเชื่อตรงที่ความสงสัยทำให้เกิดการตั้งคำถาม  ส่วนการตัดสินลงมติเป็นการขจัดความสงสัยและก่อให้เกิดความเชื่อตามมา  นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติอีกด้วย  กล่าวคือความเชื่อเป็นตัวนำทางความปรารถนา  และสร้างรูปแบบของการกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ 
2.        วิลเลียม  เจมส์ กล่าวว่าทฤษฎีความจริงตามทรรศนะของเจมส์ไม่มีลักษณะ  เป็นสิ่งไม่แน่นอน  ตายตัว  แต่มีลักษณะเป็นกระบวนการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ  เจมส์กล่าวว่ามนุษย์แต่ละคนมีความคิด  ความเชื่อต่าง    อยู่มากมาย  เมื่อเขามีประสบการณ์ใหม่เพิ่มขึ้น  ในบางครั้งอาจทำให้เกิความสับสนวุ่นวายใจ  เกิดความขัดแย้งกับความคิด  ความเชื่อของตนทั้งนี้เพราะประสบการณ์ใหม่ไม่สามารถเข้ากับประสบการณ์เก่าได้  แต่ในทฤษฎีความจริงของเจมส์นั้นได้ถือหลักการแก้ปัญหาแบบให้มีการกระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงประสบการณ์เก่าให้น้อยที่สุด  และเกิดความต่อเนื่องกันระหว่างประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่ให้มากที่สุด  แต่เจมส์ก็ยอมรับว่าแก้ปัญหาแบบนี้คงไม่ประสบผลสำเร็จเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์นักอาจเป็นไปได้พอประมาณเท่านั้น  แต่ทฤษฎีนี้ก็น่าจะใช้ได้ดีกว่าบางทฤษฎี
เมื่อกล่าวโดยสรุป  ตามความคิดเห็นของเจมส์  ความจริงเป็นเรื่องของกระบวนการ  (process) ดังต่อไปนี้
1.  กระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นจริงและเป็นสิ่งที่ใช้ได้  หมายความว่า  ความคิดใดจะจริง  ต้องสามารถอธิบาย  ทดลอง  พิสูจน์ให้เห็นจริงได้และก่อให้เกิดผลหรือประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2.       กระบวนการนำทาง  ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ให้เห็นจริงและมีเหตุผลใช้ได้  จะต้องนำไปสู่ความคิดอื่น    ซึ่งเป็นสาวนหนึ่งของประสบการณ์  ต้องเชื่อมโยงกับการมีประสบการณ์อื่นที่มีค่าสำหรับการดำเนินชีวิต 

จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าความจริงในทรรศนะของปฏิบัตินิยมกับเหตุผลนิยม  แตกต่างกันในประเด็นสำคัญ  ดังนี้
1.  ในปรัชญาปฏิบัตินิยม  ความจริงไม่แยกตัวเองออกจากโลกแห่งข้องเท็จจริง  ความจริงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการหรือในปรากฏการณ์ที่เรามีประสบการณ์อยู่  ส่วนพวกเหตุผลนิยมถือว่าความจริงได้มาจากการใช้เหตุผลคิดเข้าถึง  ความจริงแยกตัวออกจากโลกข้อเท็จจริง
2.  ปรัชญาปฏิบัตินิยมกล่าวถึงความจริงในลักษณะหลายหลากประโยชน์  และความพึงพอใจ  รวมทั้งการทำงานของมะนเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่สามารถสนองความต้องการของคนเราได้  แต่เหตุผลนิยมถือว่าความจริงต้องเป็นหนึ่งเดียว  จริงทุกเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์  เป็นสิ่งสูงสุด  คงทนถาวร  เช่นความจริงตามทรรศนะของเพลโต  เป็นต้น
3.         จอห์น  ดิวอี้  มีทรรศนะเรื่องปรัชญาแตกต่างจากนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในแง่ที่ว่า  เขาไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า  ปรัชญา  คือ  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรของสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และความจริงที่เป็นนิรันดร  ปรัชญาในลักษณะนี้คือปรัชญาจิตนิยมนั่นเอง  ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นว่าการโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิจิตนิยมนี้เป้นบ่อเกิดที่สำคัญของการพัฒนา  ปรัชญาปฏิบัตินิยม  (Capornigri 1971: 54)  ดิวอี้เห็นว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นโลกที่มีความไม่แน่นอน  เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว  มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญและต้องพยายามแก้ปัญหานั้น  มนุษย์ได้รู้ตระหนักว่าในโลกแห่งผัสสะนี้ไม่อาจมีความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์  แต่ก็เป็นโลกที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่  และนอกจากนี้ดิวอี้ได้อธิบายถึงความแตกต่างของมนุษย์กับสัตว์ว่า  มนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่ว่าสามารถเก็บรวบรวม  รักษาประสบการณ์ของตนไว้ได้ในความทรงจำ  ส่วนสัตว์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้  เหตุการณ์ต่าง    ที่สัตว์เผชิญจบลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า  โดยที่สัตว์ไม่สามารถคิดต่อไปได้ว่าจะทำอย่างไรให้ดีกว่าวันที่ผ่านมา  ส่วนมนุษย์แม้จะเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง  แต่มิได้เกิดมาในโลกของวัตถุกายภาพอย่างเดี่ยว  โลกสำหรับมนุษย์ยังเป็นโลกของเครื่องหมายและสัญลักษณ์อีกด้วย  และนี่คือความแตกต่างของความเป็นมนุษย์กับสัตว์ ส่วนหน้าที่ของปรัชญาตามความคิดของดิวอี้กว้างมาก  และไม่มีขอบเขตจำกัด  ปรัชญาทำหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคม  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าโดยเนื้อหาแล้ว  ปรัชญาคือการปฏิบัติ  นักปรัชญาไม่มีความจำเป็นต้องแข่งขันกับนักวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความจริงสูงสุดของจักวาล  แต่นักปรัชญาควรจำกัดตัวเองอยู่กับเรื่องจริยธรรม  สังคม  และการศึกษา  ทรรศนะแบบนี้คือทรรศนะที่เรียกว่า  อุปกรณ์นิยม  ซึ่งถือว่าปรัชญาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปรับปรุงสังคม  ถ้าพิจารณาปรัชญาในแนวนี้จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ  และชีวิตในปัจจุบันมากนัก
สำหรับความคิดของนักปรัชญาปฏิบัตินิยมทั้งสามคนที่ได้เสนอมาแล้วคงจะพอทำให้มองเห็นพัฒนาการ  และลักษณะร่วมของปรัชญาลัทธินี้ได้บ้างพอสมควร  แม้ว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมจะรับความคิดมาจากหลายแนวความคิด  แต่ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นปรัชญาที่มีหลักการของตนเองไม่มีปรัชญาสำนักใดจะสมบูรณ์พร้อมโดยไม่มีข้อบกพร่องเลย  ปรัชญาปฏิบัตินิยมก็เช่นเดียวกันที่มีทั้งจุดดีจุดเด่นและจุดอ่อนที่ทำให้นักปรัชญากลุ่มจิตนิยมและเหตุผลนิยมโจมตีอยู่หลายประเด็น  รวมทั้งความกำกวมของหลักการและวิธีการแบบปฏิบัตินิยมเองก็มีส่วนทำให้กลายเป็นข้อบกพร่องที่ทำให้มีการตีความไปหลายความหมาย  จนบางครั้งกับนำไปสู่ข้อสรุปที่ไกลจากต้นเค้าความคิดเดิม  โดยในส่วนนี้จะสรุปจุดเด่นจุดอ่อนของปรัชญาปฏิบัตินิยม คือ
จุดเด่นของปรัชญาปฏิบัตินิยม
1.        ปรัชญาปฏิบัตินิยมเสนอคำแนะนำที่ฉลาดสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน  สามารถช่วยรักษาสุขภาพจิตของคนเราได้เป็นอย่างดี 
2.       ในแง่การหาความรู้  ลัทธิเหตุผลนิยมใช้วิธีนิรนัยเป็นหลักส่วนลัทธิประสบการณ์นิยมใช้วิธีอุปนัยเป็นหลัก  ปรัชญาปฏิบัตินิยมเห็นการใช้วิธีการนิรนัยหรืออุปนัยล้วน    ไม่เพียงพอสำหรับการหาความรู้ในปัจจุบัน  การใช้นิรนัยอย่างเดียวมีแต่ “กรอบ” หรือ “รูปแบบ”  หรือ “โครงสร้าง”  ของความคิด  ส่วนอุปนัยนั้นคำนึงถึง  “ข้อเท็จจริง” หรือ “เนื้อหา” มากกินไป  ทั้งสองลัทธิต่างก็ไปคนละทาง
จุดอ่อนของปรัชญาปฏิบัตินิยม
1.        ปรัชญาปฏิบัตินิยมเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลมากเกินไปจนทำให้กลายเป็นการเห็นแก่ตัว  มองเข้าหาตนเองเป็นหลัก  ทำให้ขาดการมองประโยชน์ของสังคม
2.        ความคิดเรื่องความดีที่ไม่มีลีกษณะสมบูรณ์สูงสุดในปรัชญาปฏิบัตินิยมก่อให้เกิดปัญหาในการตัดสินการกระทำในแต่ละสถานการณ์  นั่นคือหาเกณฑ์ที่แน่นอนไม่ได้  เพราะว่า ดี  ชั่ว  ถูก  ผิด  ก็อาจผสมปนเปกันไปหมด
ความส่งท้าย
ปรัชญาปฏิบัตินิยมเสนอความคิดที่แตกต่างกับปรัชญาลัทธิอื่นตรงที่เน้นผลทางปฏิบัติมากกว่าหลักการหรือทฤษฎีแต่การกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าหลักการไม่สำคัญ  คนเราจะแก้ปัญหาใดก้ตามจำเป็นต้องรู้หลักการที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งนั้นก่อน  ขณะเดียวกันก็สามารถนำหลักการหรือทฤษฎีนั้นมาใช้แก้ปัญหาด้วยเช่นกัน