วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ปรัชญาปฏิบัตินิยม

ปรัชญาปฏิบัตินิยม
                ปรัชญาปฏิบัตินิยม  (Pragmatism)  เป็นความคิดที่แร่หลายทั่วไปในวงการปรัชญาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษ  ที่  19  เป็นต้นมา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา  แม้จะถือว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมเป็นปรัชญาสมัยปัจจุบัน  แนวความคิดของนักปรัชญา มีอยู่  3 คนด้วยกันคือ
1.   ชาร์ล  แซนเดอรส์  เพิร์ซ ได้กล่าวถึงเรื่อง  ทฤษฎีความจริงที่ว่าทฤษฎีใดก็ตามจะถือว่าเป็นความจริงได้  ก็ต่อเมื่อมันทำงานได้ผลในทางปฏิบัติหรือให้ผลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และทฤษฎีความสงสัยและความเชื่อ ความสงสัยแตกต่างกับความเชื่อตรงที่ความสงสัยทำให้เกิดการตั้งคำถาม  ส่วนการตัดสินลงมติเป็นการขจัดความสงสัยและก่อให้เกิดความเชื่อตามมา  นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติอีกด้วย  กล่าวคือความเชื่อเป็นตัวนำทางความปรารถนา  และสร้างรูปแบบของการกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ 
2.        วิลเลียม  เจมส์ กล่าวว่าทฤษฎีความจริงตามทรรศนะของเจมส์ไม่มีลักษณะ  เป็นสิ่งไม่แน่นอน  ตายตัว  แต่มีลักษณะเป็นกระบวนการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ  เจมส์กล่าวว่ามนุษย์แต่ละคนมีความคิด  ความเชื่อต่าง    อยู่มากมาย  เมื่อเขามีประสบการณ์ใหม่เพิ่มขึ้น  ในบางครั้งอาจทำให้เกิความสับสนวุ่นวายใจ  เกิดความขัดแย้งกับความคิด  ความเชื่อของตนทั้งนี้เพราะประสบการณ์ใหม่ไม่สามารถเข้ากับประสบการณ์เก่าได้  แต่ในทฤษฎีความจริงของเจมส์นั้นได้ถือหลักการแก้ปัญหาแบบให้มีการกระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงประสบการณ์เก่าให้น้อยที่สุด  และเกิดความต่อเนื่องกันระหว่างประสบการณ์เก่ากับประสบการณ์ใหม่ให้มากที่สุด  แต่เจมส์ก็ยอมรับว่าแก้ปัญหาแบบนี้คงไม่ประสบผลสำเร็จเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์นักอาจเป็นไปได้พอประมาณเท่านั้น  แต่ทฤษฎีนี้ก็น่าจะใช้ได้ดีกว่าบางทฤษฎี
เมื่อกล่าวโดยสรุป  ตามความคิดเห็นของเจมส์  ความจริงเป็นเรื่องของกระบวนการ  (process) ดังต่อไปนี้
1.  กระบวนการพิสูจน์ว่าเป็นจริงและเป็นสิ่งที่ใช้ได้  หมายความว่า  ความคิดใดจะจริง  ต้องสามารถอธิบาย  ทดลอง  พิสูจน์ให้เห็นจริงได้และก่อให้เกิดผลหรือประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2.       กระบวนการนำทาง  ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ให้เห็นจริงและมีเหตุผลใช้ได้  จะต้องนำไปสู่ความคิดอื่น    ซึ่งเป็นสาวนหนึ่งของประสบการณ์  ต้องเชื่อมโยงกับการมีประสบการณ์อื่นที่มีค่าสำหรับการดำเนินชีวิต 

จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าความจริงในทรรศนะของปฏิบัตินิยมกับเหตุผลนิยม  แตกต่างกันในประเด็นสำคัญ  ดังนี้
1.  ในปรัชญาปฏิบัตินิยม  ความจริงไม่แยกตัวเองออกจากโลกแห่งข้องเท็จจริง  ความจริงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการหรือในปรากฏการณ์ที่เรามีประสบการณ์อยู่  ส่วนพวกเหตุผลนิยมถือว่าความจริงได้มาจากการใช้เหตุผลคิดเข้าถึง  ความจริงแยกตัวออกจากโลกข้อเท็จจริง
2.  ปรัชญาปฏิบัตินิยมกล่าวถึงความจริงในลักษณะหลายหลากประโยชน์  และความพึงพอใจ  รวมทั้งการทำงานของมะนเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่สามารถสนองความต้องการของคนเราได้  แต่เหตุผลนิยมถือว่าความจริงต้องเป็นหนึ่งเดียว  จริงทุกเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์  เป็นสิ่งสูงสุด  คงทนถาวร  เช่นความจริงตามทรรศนะของเพลโต  เป็นต้น
3.         จอห์น  ดิวอี้  มีทรรศนะเรื่องปรัชญาแตกต่างจากนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในแง่ที่ว่า  เขาไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า  ปรัชญา  คือ  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรของสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  และความจริงที่เป็นนิรันดร  ปรัชญาในลักษณะนี้คือปรัชญาจิตนิยมนั่นเอง  ถ้าเราพิจารณาดูจะเห็นว่าการโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิจิตนิยมนี้เป้นบ่อเกิดที่สำคัญของการพัฒนา  ปรัชญาปฏิบัตินิยม  (Capornigri 1971: 54)  ดิวอี้เห็นว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นโลกที่มีความไม่แน่นอน  เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว  มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญและต้องพยายามแก้ปัญหานั้น  มนุษย์ได้รู้ตระหนักว่าในโลกแห่งผัสสะนี้ไม่อาจมีความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์  แต่ก็เป็นโลกที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่  และนอกจากนี้ดิวอี้ได้อธิบายถึงความแตกต่างของมนุษย์กับสัตว์ว่า  มนุษย์ต่างจากสัตว์ตรงที่ว่าสามารถเก็บรวบรวม  รักษาประสบการณ์ของตนไว้ได้ในความทรงจำ  ส่วนสัตว์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้  เหตุการณ์ต่าง    ที่สัตว์เผชิญจบลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า  โดยที่สัตว์ไม่สามารถคิดต่อไปได้ว่าจะทำอย่างไรให้ดีกว่าวันที่ผ่านมา  ส่วนมนุษย์แม้จะเป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง  แต่มิได้เกิดมาในโลกของวัตถุกายภาพอย่างเดี่ยว  โลกสำหรับมนุษย์ยังเป็นโลกของเครื่องหมายและสัญลักษณ์อีกด้วย  และนี่คือความแตกต่างของความเป็นมนุษย์กับสัตว์ ส่วนหน้าที่ของปรัชญาตามความคิดของดิวอี้กว้างมาก  และไม่มีขอบเขตจำกัด  ปรัชญาทำหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคม  ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าโดยเนื้อหาแล้ว  ปรัชญาคือการปฏิบัติ  นักปรัชญาไม่มีความจำเป็นต้องแข่งขันกับนักวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความจริงสูงสุดของจักวาล  แต่นักปรัชญาควรจำกัดตัวเองอยู่กับเรื่องจริยธรรม  สังคม  และการศึกษา  ทรรศนะแบบนี้คือทรรศนะที่เรียกว่า  อุปกรณ์นิยม  ซึ่งถือว่าปรัชญาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปรับปรุงสังคม  ถ้าพิจารณาปรัชญาในแนวนี้จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ทฤษฎีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ  และชีวิตในปัจจุบันมากนัก
สำหรับความคิดของนักปรัชญาปฏิบัตินิยมทั้งสามคนที่ได้เสนอมาแล้วคงจะพอทำให้มองเห็นพัฒนาการ  และลักษณะร่วมของปรัชญาลัทธินี้ได้บ้างพอสมควร  แม้ว่าปรัชญาปฏิบัตินิยมจะรับความคิดมาจากหลายแนวความคิด  แต่ก็ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นปรัชญาที่มีหลักการของตนเองไม่มีปรัชญาสำนักใดจะสมบูรณ์พร้อมโดยไม่มีข้อบกพร่องเลย  ปรัชญาปฏิบัตินิยมก็เช่นเดียวกันที่มีทั้งจุดดีจุดเด่นและจุดอ่อนที่ทำให้นักปรัชญากลุ่มจิตนิยมและเหตุผลนิยมโจมตีอยู่หลายประเด็น  รวมทั้งความกำกวมของหลักการและวิธีการแบบปฏิบัตินิยมเองก็มีส่วนทำให้กลายเป็นข้อบกพร่องที่ทำให้มีการตีความไปหลายความหมาย  จนบางครั้งกับนำไปสู่ข้อสรุปที่ไกลจากต้นเค้าความคิดเดิม  โดยในส่วนนี้จะสรุปจุดเด่นจุดอ่อนของปรัชญาปฏิบัตินิยม คือ
จุดเด่นของปรัชญาปฏิบัตินิยม
1.        ปรัชญาปฏิบัตินิยมเสนอคำแนะนำที่ฉลาดสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน  สามารถช่วยรักษาสุขภาพจิตของคนเราได้เป็นอย่างดี 
2.       ในแง่การหาความรู้  ลัทธิเหตุผลนิยมใช้วิธีนิรนัยเป็นหลักส่วนลัทธิประสบการณ์นิยมใช้วิธีอุปนัยเป็นหลัก  ปรัชญาปฏิบัตินิยมเห็นการใช้วิธีการนิรนัยหรืออุปนัยล้วน    ไม่เพียงพอสำหรับการหาความรู้ในปัจจุบัน  การใช้นิรนัยอย่างเดียวมีแต่ “กรอบ” หรือ “รูปแบบ”  หรือ “โครงสร้าง”  ของความคิด  ส่วนอุปนัยนั้นคำนึงถึง  “ข้อเท็จจริง” หรือ “เนื้อหา” มากกินไป  ทั้งสองลัทธิต่างก็ไปคนละทาง
จุดอ่อนของปรัชญาปฏิบัตินิยม
1.        ปรัชญาปฏิบัตินิยมเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลมากเกินไปจนทำให้กลายเป็นการเห็นแก่ตัว  มองเข้าหาตนเองเป็นหลัก  ทำให้ขาดการมองประโยชน์ของสังคม
2.        ความคิดเรื่องความดีที่ไม่มีลีกษณะสมบูรณ์สูงสุดในปรัชญาปฏิบัตินิยมก่อให้เกิดปัญหาในการตัดสินการกระทำในแต่ละสถานการณ์  นั่นคือหาเกณฑ์ที่แน่นอนไม่ได้  เพราะว่า ดี  ชั่ว  ถูก  ผิด  ก็อาจผสมปนเปกันไปหมด
ความส่งท้าย
ปรัชญาปฏิบัตินิยมเสนอความคิดที่แตกต่างกับปรัชญาลัทธิอื่นตรงที่เน้นผลทางปฏิบัติมากกว่าหลักการหรือทฤษฎีแต่การกล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าหลักการไม่สำคัญ  คนเราจะแก้ปัญหาใดก้ตามจำเป็นต้องรู้หลักการที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งนั้นก่อน  ขณะเดียวกันก็สามารถนำหลักการหรือทฤษฎีนั้นมาใช้แก้ปัญหาด้วยเช่นกัน
 

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งการบ้าน

1-2. วิทยาศาสตร์คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร


วิทยาศาสตร์ หมายถึง กระบวนการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนที่สามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ จึงได้ความรู้ที่มีระเบียบกฎเกณฑ์ และ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์

มีความเป็นมาอย่างไร คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia มีหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ คือ “กาลิเลโอ กาลิเลอี” เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป ณ. ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้

• ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน”แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด "

เวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านั้น ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนเรียงความ เรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ) โดยเรียงความชิ้นนี้ถือเป็นเรียงความชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่ เนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น

การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้นไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์ เดวิดฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ และได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้ ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของ วิทยาศาสตร์ มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม

3-4. ปรัชญาวิทยาศาสตร์คืออะไร เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

ปรัชญาวิทยาศาสตร์ คือ ปรัชญาเน้นในเรื่องของความเชื่อของที่ไปที่มาของความรู้ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารย์วิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์มโนทัศน์ และในการศึกษาธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ การวิพากษ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ถึงการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ อาจจะอยู่ในรูปของการดำเนินการด้วยตัวเองโดยตรง เช่น การวิพากวิจารย์จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนโยบายทางสังคมเป็นต้นว่าการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวิจัยทางด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์

ส่วนการวิเคราะห์มโนทัศน์ ได้แก่ การอภิปรายและสำรวจถึงมโนทัศน์หลักที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ เช่นอะไรที่เป็นธรรมชาติของการคัดเลือกตามธรรมชาติ อะไรที่นักเคมีหมายความถึงโดยสาเหตุ ในกรณีธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้มีการกำหนดให้วิทยาศาสตร์ควรจะดำเนินไปเหมือนกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ (inquiry) และอธิบายว่าวิทยาศาสตร์ดำเนินไปอย่างไร เช่นเดียวกับวิธีการสืบเสาะหาความรู้ เช่นในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shifts) การวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการของชาติพันธ์เกี่ยวกับความคิด(evolution and phylogny of idea)

เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์และปรัชญาต่างมีธรรมชาติของตน วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ปรัชญา เพราะว่ามันเจาะจงศึกษาความจริงเพื่อนำไปใช้สู่ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่คำถามที่เป็นปัญหาของปรัชญาโดยตรง วิทยาศาสตร์สนใจทำการศึกษาค้นคว้าทดลองตามหลักการของตน เพื่อตอบปัญหาในสิ่งที่วิทยาศาสตร์สนใจ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ต่างมีพื้นฐานบนความจริงที่มนุษย์ตั้งคำถามและพยามศึกษาหาคำ ตอบในประเด็น/โจทย์ที่สอดคล้องกับบริบทตามธรรมชาติของตน โดยสรุปภาพรวมได้ดังนี้

1. ในฐานะที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ ย่อมมีจุดหมาย คือ การแสวงหาความจริง อันเป็นคุณลักษณะโดยทั่วไปของทุกศาสตร์ แต่ความจริงที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์มุ่งตอบนี้มีรายละเอียดด้านคำถาม และวิธีการตอบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

ก. ในขณะที่ปรัชญาตั้งคำถามว่า "ความจริงคืออะไร รู้ได้อย่างไรและเอาอะไรมาตัดสินความจริง?" (What/Why to be) อันเป็นคำถามที่พิจารณาถึงคุณค่าและความหมายของความจริง โดยยึดสิ่งนั้น (Object) เป็นศูนย์กลาง โดยไม่ใส่ใจว่าความจริงของสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตหรือ ไม่ ในขณะที่วิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่า "ความจริงเป็นอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร" (How to be) อันเป็นคำถามที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการตั้งและตอบคำถาม (Subject) วิทยาศาสตร์จึงสนใจคำตอบในรายละเอียดของสิ่งนั้น เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน /อนาคต (ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต)

ข. ปรัชญาจะเน้นการแสวงหาความจริงโดยอาศัยสติปัญญา ตามหลักเหตุ-ผล (ใช้ตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือ มุ่งสู่มโนภาพ/สากลของสิ่งนั้น) ในขณะที่วิทยาศาสตร์เน้นประสบการณ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ในระดับประสาทสัมผัส เพื่อค้นหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เพื่อควบคุมหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

2. ความรู้ด้านปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ต่างสะท้อนถึงคุณลักษณะพิเศษของมนุษย์ ในฐานะเป็นผู้มีสติปัญญา พยายามศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับความจริง แต่สิ่งที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ใส่ใจมีรายละเอียดต่างกัน กล่าวคือ

ก. ปรัชญาเน้นการตั้งคำถามและตอบตามเหตุ-ผล นำสู่หลักการ

และ แนวทางการดำเนินชีวิต คำตอบจึงยังไม่ขีดเส้นตายสิ้นสุด แต่ยังมีคำตอบที่สามารถโต้แย้งได้ไม่สิ้นสุด ในขณะที่วิทยาศาสตร์จะพิจารณาคำถาม และตอบให้จบเป็นประเด็น ๆ ไป คำตอบที่ได้รับมีลักษณะเป็นสากล

ข. ปรัชญาสะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นอะไรมากกว่ากฎเกณฑ์หรือหลักการที่ ตายตัว ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ทั้งหมด เพราะมนุษย์มีสติปัญญา มีความสำนึก มีเสรีภาพที่สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตน ในขณะที่วิทยาศาสตร์สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของมนุษย์ที่ยังคงมีความต้อง การในระดับประสาทสัมผัส ที่จำเป็นต้องได้รับการสนองความต้องการ

ใน ฐานะที่ปรัชญาเป็น "ศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย" (ก่อนที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร) เราจึงพอจะมองเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ปรัชญาเป็นเหมือนกับ "มารดา" ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นดัง "บุตร" วิทยาศาสตร์เป็นการต่อยอดความรู้ความจริงของมนุษย์ เพื่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน



5-6 . วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างไร

วิธีทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ (Scientific method) เป็นหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบและเสาะหาความรู้ใหม่แบบวิทยาศาสตร์ ที่ใช้หลักฐานทางกายภาพ นักวิทยาศาสตร์เสนอความเชื่อใหม่เกี่ยวกับโลกในรูปของทฤษฎีที่ผ่านขั้นตอนของ การสังเกต, การตั้งสมมติฐานและการอนุมาน ผลการทำนายของทฤษฎีเหล่านี้จะถูกทดสอบด้วยการทดลอง ถ้าผลการทำนายนั้นถูกต้องหรือสอดคล้องกับการทดลอง ทฤษฎีดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ ทฤษฎีที่ความน่าเชื่อถือจะถูกนำไปทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความถูกต้องเพิ่มเติม ระเบียบวิธีนี้ถูกจัดให้เป็นตรรกะสำคัญของ ธรรมเนียมปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนด้านบนคือระเบียบวิธีแบบสมมติฐาน-อนุมาน และใช้การสังเกตในขั้นตอนแรกและขั้นตอนที่ 4 แต่ละขั้นตอนจะต้องผ่านกระบวนการ peer review เพื่อป้องกันความผิดพลาด กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ระบุสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำทั้งหมด แต่อธิบายถึงวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง (เช่น ฟิสิกส์ และเคมี) ขั้นตอนด้านต้นมักใช้ในการเรียนการสอน



7-8 วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับสังคม และท้องถิ่นอย่างไร

วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับสังคม และท้องถิ่น คือ

1. วิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ความจริงของธรรมชาติผ่านกระบวนการ

ทดลองหาหลักฐานเชิงประจักษ์ มีผลต่อการควบคุมและประยุกต์ต่อการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ

2. คุณค่าของวิทยาศาสตร์มีต่อการเพิ่มค่าทางเศรษฐกิจ การค้นหาความจริง และเพิ่มค่าทางปัญญา (Eonomic Values, Truth Searching Values, Wisdom Values)

3. วิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่สัมพันธ์กันระหว่างวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) สังคมศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ (Medical Science) และเศรษฐศาสตร์

4. เป้าประสงค์สูงสุดของวิทยาศาสตร์ คือ นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้จาก วิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อความผาสุก และการมีชีวิตที่มีคุณภาพของมนุษย์ การวางนโยบายและการ ตัดสินใจในยุทธศาสตร์ของประเทศ ควรมุ่งส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ การประยุกต์วิทยาศาสตร์ เพื่อสังคมที่พัฒนาอย่างยั่งยืน

5. การวางนโยบายของการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ควรมีเป้าประสงค์ไปที่พัฒนาความ สามารถ

(Capacity Building) ของมนุษย์ สังคม และสถาบันต่าง ๆ ในการมีพื้นฐานความรู้ ความคิด กระบวน

วิธีการ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ให้ส่งผลต่อการเพิ่มกำลังการผลิต และส่งผลต่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

7. หลักการสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติ คือ หนึ่งโลก หนึ่งวิทยาศาสตร์ และหนึ่งมนุษยชาติ (One Planet, One Science, One Mankind) วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้ (Knowledge) เป็นกระบวนการ (Process) เป็นเครื่องมือ (Tools) และเป็นผลิตผล (Product)

8. ยึดหลักจริยศาสตร์ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เช่น

- ความรู้คู่กับความรับผิดชอบต่อมวลมนุษย์ เคารพสิทธิการเป็นมนุษย์ที่เสมอภาคกัน

- วิทยาศาสตร์รับผิดชอบต่อการส่งผล (Accountable Responsibility) ช่วยแก้ปัญหาที่เป็นความกดดันของสังคม ความยากจน ไม่มีอคติ มุ่งต่อคุณประโยชน์ ต่อคน สังคม สิ่งแวดล้อม

- มีความสมดุลระหว่างการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ (Property Right) กับการแบ่งปันถ่ายทอดความรู้ใหม่ ๆ ให้กับมนุษย์ในประเทศที่มีระดับพัฒนา ด้อยกว่า จริงใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ ของชาติต่าง ๆ ให้ทัดเทียมเสมอภาคและลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ

- การจัดการเรียนการสอน ควรพัฒนาจริยธรรมควบคู่กับความรู้ สร้างเจตคติที่ดี ต่อมวลมนุษย์ และความเมตตากรุณา (Compassion)

9. วิทยาศาสตร์ช่วยสร้างวัฒนธรรมใหม่ของสังคมที่ยึดถือเหตุผล ความจริง การวิจัยคิดค้นแสวงหานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงความเป็นอยู่ มีความสมดุลระหว่างการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

10. ทิศทางใหม่ ๆ ของการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น การวิจัยพัฒนาการผลิตอาหาร พันธุศาสตร์ (Genetic Engineering) ยารักษาโรค การแสวงหา แหล่งน้ำและพลังงานผ่านทาง GIS (Geographic Information System) การวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

11. กลไกสำคัญความสำเร็จของการพัฒนาวิทยาศาสตร์อยู่ที่นโยบายระดับชาติ การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยพัฒนา การปฏิรูปบทบาทของสถาบันและมหาวิทยาลัย การสร้างชุมชนวิทยาศาสตร์ระดับท้องถิ่น ชาติ และระดับโลก (Global Scientific Community)



9-10 การนำหลักปรัชญาและวิสัยทัศน์มาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างไร

วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙) เป็น

แผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศโดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนี้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของสังคมไทยใน ๒๐ ปีข้างหน้า โดยนำความคิดของทุกฝ่ายในสังคมและทุกระดับทั้งระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ มาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบให้เกิดเป็น “วิสัยทัศน์ร่วม” ที่สังคมไทยยอมรับร่วมกัน โดยคำนึงถึงสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่จะมีผลต่อการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศในอนาคตได้อย่างสมเหตุสมผล มีจุดมุ่งหมายและค่านิยมร่วม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกาภิวัตน์และรู้จักเลือกนำมาใช้อย่างมีเหตุผล โดยยึดหลักทางสายกลางและมีภูมิคุ้มกัน

__________________________________

 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่นมาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปเผยแพร่ ซึ่งทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ขอพระมหากรุณา