วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ธูปฤาษี

ชื่อวิทยาศาสตร์    Typha angustifolia L.
วงศ์    Typhaceae
ชื่อสามัญ   Common name: Cat's-tail, Lesser Bulrush
ลักษณะทางพฤษศาสตร์       ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ตั้งตรง สูง 1.5-3 ม. ใบ มีกาบใบ เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปแถบ ยาว 50-120 ซม. เว้าใกล้เส้นกลางใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก ช่วงดอกเพศผู้ยาว 8-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 0.2-0.7 ซม. มีใบประดับ 1-3 ใบ หลุดร่วง ช่วงดอกเพศเมียยาว 5-30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 0.6-2 ซม. มักแยกออกจากส่วนดอกเพศผู้ด้วยส่วนก้านช่อดอกที่เป็นหมันที่ยาว 2.5-7 ซม. ดอก มีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ส่วนมากมี       3 อัน มีขนล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูยาว 1.5-2 มม. ดอกเพศเมียมีใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย       รังไข่รูปกระสวย ก้านรังไข่เรียว ยาวประมาณ 5 มม. มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. มีขนแต่สั้นกว่าบนก้านรังไข่ ยอดเกสรรูปแถบหรือรูปใบหอก ผล  มีขนาดเล็ก รูปรี
การกระจายพันธุ์    ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยพบทุกภูมิภาค ขึ้นตามหนองน้ำ ทะเลสาบ หรือริมคลอง ตามที่โล่งทั่วไป
ประโยชน์   ใบใช้สานเสื่อหรือตะกร้า ช่อดอกแห้งใช้เป็นไม้ประดับ ในสมุนไพรจีนอับเรณูและลำต้นใช้รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ลำต้นยังใช้เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอดบุตร


โคลงเคลง

ชื่อพื้นเมือง       กะดูดุ กาดูโต๊ะ โคลงเคลงขึ้นก โคลงเคลงขี้หมา ชี้ชะโพะ ตะอาเต๊าะ   เบร์มะเหรมังเคร่ มังแร้ สาเร สำเร มายะอ้า อ้าหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Melastoma malabathricum L.subsp. malabathricum
ชื่อวงศ์             MELASTOMATACEAE
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
          ในประเทศ  ตามชายป่าหรือที่โล่งแจ้ง ริมน้ำในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ทุกภาคในต่างประเทศ  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป
          ต้นไม้  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ลำต้นแตกเป็นกอ ยอดอ่อน กิ่งก้านเป้นสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียด สีน้ำตาลอ่อนปกคลุมทุกส่วน แตกกิ่งกิ้นเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกนอกลำต้นบางเรียบ สีน้ำตาลแดง เปลือกในสีขาว   ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกน รูปใบหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบเรียวสอบ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 7-12 ซม. แผ่นใบค่อนข้างแข็ง ผิวใบมีเกล็ดเล็กแหลม เส้นใบ 3 เส้น ออกจากโคนใบไปสิ้นสุดที่ปลายใบ ใบมีสีเขียวเข้ม   ดอก  ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง 3-5 ดอก สีม่วงอมชมพู ดอกบางเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-5.5 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเป็นเส้น ๆ  ผล  รูปทรงเรียวคล้ายลูกข่าง ผิวมีขน เนื้อในแดงอมม่วง เมล็ดมีจำนวนมาก  ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล  ตลอดปี     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด ตอน
การใช้ประโยชน์  ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้พุ่มที่ปลูกเพื่อการตบแต่งสวนหย่อมได้ มีใบที่เขียวสวย โดยเฉพาะดอกสีม่วงสดใสมาก มีขนาดกว้าง 5 ซม. และต้นแตกกอเพิ่มปริมาณต้นมากขึ้น ๆ และออกดอกตลอดปี ปลูกครั้งเดียวมีอายุให้ดอกได้นานหลายปี
ด้านสมุนไพร   ราก  ใช้เป็นยาดับพิษไข้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงตับไตและดี  ดอก  เป็นยาระงับประสาท และห้ามเลือด

หมากเม่า

ชื่อพื้นเมือง             ต้นเม่า,มะเม่า, หมากเม่า, เม่าเสี้ยน,มัดเซ,เม่า
ชื่อสามัญ                เม่าหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์      Antidesma thwaitesianum
     เป็นไม้ผลยืนต้นไม่ผลัดใบ สายพันธุ์เบอร์รี่ ในวงศ์ STILAGINACEAE สูง15-12 เมตร  มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติในเขตพื้นที่ต่างๆในประเทศไทย โดยจะมีความแตกต่างที่สังเกตได้ คือ ขนาดของผล โดยเม่าจะมีมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในหลายจังหวัดแต่จะมีมากและเป็นพันธุ์ที่มีขนาดผลใหญ่กว่าปกติ  ซึ่งเรียกกันในท้องถิ่นว่า เม่าหลวง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ด้านบนสีเขียวเป็นมันเรียงตัวสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว   10-13 เซนติเมตร    ดอก ออกเป็นช่อ เป็นแบบดอกแยกเพศต่างต้น ซึ่งจะออกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม  ผล เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวเมื่อเข้าสู่ระยะสุกผลเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีดำเมื่อสุกจัด ผลฉ่ำน้ำ ให้ผลผลิตปีละครั้งช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน  ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ก่อนแยกต้นปลูก เจริญเติบโตได้ดีในทุกพื้นที่ ชอบแสงแดด ทนแล้งได้ดี  ประโยชน์  ผลไม้ในสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในต่างประเทศและประเทศไทยในการนำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เข้มข้น  โดยนิยมดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ เนื่องจากมีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่าย เช่น  " วีต้าเบอร์รี่" ผลิตโดยบริษัทแบรนด์ ซึ่งผลิตจากผลเบอร์รี่ต่างประเทศประโยชน์ ผลนำมาทำอาหารคล้ายส้มตำ ทำน้ำผลไม้ ทำไวน์แดง ทางสมุนไพร เป็นยาระบาย บำรุงสายตา

ต้นโทะ

ต้นโทะ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Hassk.
วงศ์  Myrtaceae
ชื่อสามัญ  ทุ  พรวด
ชื่อท้องถิ่น  โท๊ะ (สงขลา) Kuuam (มาเลเซีย)
ลักษณะทางพฤษศาสตร์  ต้นโท๊ะ เป็นไม้พุ่มเขียวชะอุ่มทั้งปี ความสูงประมาณ 2-3 เมตร และสามารถเติบโตขยายพันธุ์เป็นพืชเชิงเดี่ยวได้  ใบ รูปไข่ปลายมน (elliptic - oval) ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 - 4 เซนติเมตร หน้าใบเป็นมัน ส่วนหลังใบมีขนละเอียดปกคลุม โดยมีเส้นใบนูนสามเส้น ดอก สีของดอกโท๊ะเป็นสีชมพูกุหลาบ กลีบดอกชั้นเดียว มีสีชมพูอ่อนถึงแก่ในช่อเดียวกัน ขนาดดอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร  ผลอ่อน มีสีเขียวแล้วจะค่อย ๆ สุกกลายเป็นสีแดง จนสุกจัดกลายเป็นสีม่วงอมดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลบลูเบอรี่ แต่จะค่อนข้างยาวกว่ามีสีเขียวแล้วจะค่อย ๆ สุกกลายเป็นสีแดง จนสุกจัดกลายเป็นสีม่วงอมดำ มีขนาดกว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายผลบลูเบอรี่ แต่จะค่อนข้างยาวกว่า 
การขยายพันธุ์   โท๊ะ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่ติดไปกับนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่กินผลโท๊ะเป็นอาหาร ผลโท๊ะมีเมล็ดมาก และมีอัตราการงอกสูงมาก โดยในระยะแรกของการงอกจะเจริญเติบโตได้ดีถ้าดินมีความชื้นเพียงพอ

ต้นเสม็ด

ต้นเสม็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์   Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
ชื่อวงศ์                MYRTACEAE
ชื่อพื้นเมือง         ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก (ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) ;เสม็ด (สกลนคร, สตูล);เสม็ด เขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล (มลายู ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป    ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 7 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือก สีน้ำตาลแดง
ใบ     ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่
ดอก   สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอก ออก ก.พ - เม.ย
ผล     ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ทรงกลม หรือ ไข่สีขาว ผล ออก มี.ค - มิ.ย
ด้านภูมิทัศน์    ปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย
ประโยชน์       ยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับนำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบตำพอกแก้เคล้ด  ขัดยอกฟกบวม



ต้นหว้า

     หว้า                         Waa
     
ชื่อวิทยาศาสตร์     
Eugenia cumini Druce
  
 
ชื่อวงศ์                    
MYRTACEAE
   
 ชื่ออื่นๆ                    มะห้า มะเกี่ยวแขก ห้าขี้แพะ
     ลักษณะทั่วไป         หว้า เป็นผลไม้ยืนต้น ลำต้นตรงสูงประมาณ 5-12เมตร การแตกกิ่งเป็นมุมแหลม ปลายกิ่งตั้ง กระจายกิ่งกลางลำต้นขึ้นไป
     ผิวเปลือก                เปลือกของลำต้นชั้นนอกมีสีเทาขาว ผิวขรุขระ เปลือกไม่หลุดลอกออกเป็นแผ่น
     ใบ                           ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเป็นคู่อยู่ตรงข้ามระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปไข่รี โค้งมน ปลายใบมน ผิวใบเรียบลื่น
     ดอก                      ดอกเป็นช่อเกิดตามปลายกิ่งมีมาก ดอกคล้ายไข่มด
     ผล                         เป็นผลสดเป็นช่อเมื่อสุก มีสีม่วงดำ ผิวเรียบ เนื้อฉ่ำน้ำ รสฝาด หรือหวานปนฝาด เมล็ดกลมสีขาว
     การขยายพันธุ์     ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหว้าจะขึ้นได้ดีกับดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัดและความชื้นปานกลาง